RSS

สิ่งที่ได้จากการเรียนรู้รายวิชา บริการสารสนเทศ

สิ่งที่ได้จาการเรียนรู้ในวันที่ 28 สิ่งหาคม 2554

ที่มาของแนวคิดห้องสมุด 2.0

พฤติกรรมผู้ใช้เปลี่ยน พัฒนาการทางด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ จึงมาเป็น “กฎของพาเรโต” (Pareto Principle) /”80/20 rule” และ เศรษฐศาสตร์หางแถว(ยาว)(The Long Tail) นำไปสู่เทคโนโลยี Web 2.0และนำมาพัฒนาในงานห้องสมุด จึงมาเป็น Lib 2.0

“กฎของพาเรโต” (Pareto Principle) /”80/20 rule”

วิลเฟรโด พาเรโต (Vilfredo Pareto)  นักเศรษฐศาสตร์ พบว่าร้อยละ 80 ของที่ดินในประเทศอิตาลีเป็นของกลุ่มประชากรเพียงร้อยละ 20   กล่าวคือ  ยอดขาย 80% มาจากลูกค้าชั้นดีเพียงแค่ 20%

เศรษฐศาสตร์/ทฤษฎีหางแถว (Long Tail)

กฎ 80/20 ได้รับความนิยมใช้มาเรื่อยๆ จนถึงยุคที่อินเตอร์เน็ตเข้ามามีบทบาท  ทำให้ต้นทุนในการประชาสัมพันธ์ การสื่อสาร และการบริหารลูกค้าต่ำ และไม่ได้แปรผันตามปริมาณการใช้อีก การเข้าถึงกลุ่มลูกค้าอีก 80% จึงไม่ใช่เรื่องยาก ดังนั้นอินเตอร์เน็ตจึงเป็นจุด กำเนิดของกลยุทธ์หางยาว (Long Tail Strategy) ซึ่งเป็นกลยุทธ์ที่เน้นเจาะกลุ่มลูกค้า (demand side) หรือสินค้า (supply side) อีก 80% ที่เป็นลูกค้าระดับรอง หรือสินค้าที่ขายยาก

ที่มาของภาพ  http://www.wired.com/wired/archive/12.10/tail.htm

Lib 2.0 และ องค์ประกอบสำคัญ 4 ประการ

  1. มีผู้ใช้เป็นศูนย์กลาง  ผู้ใช้ควรมีส่วนร่วมในการพัฒนาเนื้อหาและบริการให้สอดคล้องตามความต้องการของผู้ใช้
  2. จัดให้มีการใช้ทรัพยากรในรูปแบบที่หลากหลาย เช่น วิดีโอ และสื่อเสียง ทั้งนี้ในอนาคตห้องสมุดแบบกายภาพจะลดลง และห้องสมุดเสมือนจะมีบทบาทมาก
  3. สร้างสังคมการสื่อสาร จัดให้มีการสื่อสาร 2 ทางระหว่างผู้ใช้ และผู้ใช้ และ ผู้ใช้กับผู้บริการ ทั้งการสื่อสารทางเดียว (asynchronous) เช่น wikis และ โต้ตอบ (synchronous)เช่น IM
  4. การสร้างสรรค์สังคม  ห้องสมุดเป็นสถาบันบริการสาธารณะ จึงต้องมีความเข้าใจสภาพการปรับเปลี่ยนของสังคมที่ให้บริการ แต่ไม่ใช่บรรณารักษ์เท่านั้น ผู้ใช้จะต้องมีส่วนร่วมด้วยในการปรับเปลี่ยน โดยต้องคำนึงต่อสังคมส่วนรวม พร้อมๆ กับความต้องการส่วนบุคคล

พัฒนาการอินเทอร์เน็ต Web 2.0

เนื่องจากอินเตอร์เน็ตได้เข้ามาเปลี่ยนแปลง ทำให้ผู้ใช้ต้องปรับเปลี่ยนพฤติกรรมตามนั้น จึงทำให้

ผู้คนได้ใช้ช่องทางในการสื่อสารผ่านอิเตอร์เน็ต ไม่ว่าจะเป็น Blog, Twitter, Facebook, Youtube, Slideshare ทำให้ผู้คนสามารถเผยแพร่เนื้อหา (Content) ของตนไปยังเว็บไซต์ต่างๆ ให้ผู้คนรับรู้ได้ง่ายๆ หรือค้นหาข้อมูลผ่านทาง Google ได้ง่ายและรวดเร็ว ค่าใช้จ่ายในการเชื่อมต่ออินเตอร์เน็ตลดลงอย่างรวดเร็ว ต้นทุนของการติดต่อสื่อสารลดลงเรื่อยๆ จึงไม่มีความจำเป็นต้อง “ตัดลูกค้าทิ้งไปอย่างน่าเสียดาย” ดังนั้นยุคใหม่ที่เรียกว่ายุค Web 2.0 และ Globalozation 3.0 ตัวแปรด้านดีมานด์มีความสำคัญมากกว่าตัวแปรด้านซัปพลาย

Web/Library 2.0 เป็นรูปแบบใหม่ของบริการห้องสมุด

  • เป็นเว็บแห่งการมีส่วนร่วม
  • มุ่งเน้นผู้ใช้เป็นศูนย์กลาง เพื่อตอบสนองความต้องการของผู้ใช้ที่เปลี่ยนแปลงไป อย่างมีวัตถุประสงค์และต่อเนื่อง
  • ผู้ใช้สามารถมีส่วนร่วมกับการให้บริการของห้องสมุดผ่านระบบห้องสมุดอัตโนมัติ เช่น User Comment, Tag และ Rating Feed User-created Content

5 Suggestions for Upgrading to Library 2.0

  1. Start a library blog (เริ่มจากการมีบล็อกห้องสมุดเสียก่อน) เพราะว่าการทำบล็อกถือเป็นการแชร์ความรู้ แชร์ความคิด นอกจากนี้ยังสามารถสร้างชุมชนหย่อมๆ ได้อีกด้วย และขั้นตอนในการสร้าง หรือสมัครบล็อกทำได้ง่ายกว่าวิธีอื่น
  2. Create an Emerging Technology Committee ตั้งกลุ่มคณะกรรมการด้านเทคโนโลยีในห้องสมุด เพื่อที่จะได้มีกลุ่มคนที่เชียวชาญด้านเทคโนโลยีคอยแนะนำในการทำงานด้านต่างๆ โดยทั่วไปก็อาจจะดึงงานที่เกี่ยวข้องมาเป็นคณะกรรมการก็ได้ เช่น ส่วนงานไอที ส่วนงานพัฒนาระบบห้องสมุด ส่วนงานโสตฯ ฯลฯ
  3. Train staff to use an RSS aggregator จัดฝึกอบรม และให้ความรู้เรื่องเกี่ยวกับการใช้ RSS
  4. Experiment and use 2.0 Tools  รู้จักเครื่องมือ และหัดใช้งานเว็บไซต์ 2.0 ทั้งหลาย
    เช่น wikipedia, youtube, slideshare,…..เมื่อบรรณารักษ์เกิดความเคยชินแล้วการนำเครื่องมือเหล่านี้มาใช้ในห้องสมุดก็จะเป็นการง่าย
  5. Implement IM reference การนำระบบ IM (Instant Messenger) มาใช้ในห้องสมุด อ่านบทความเรื่อง
 
Leave a comment

Posted by on September 4, 2011 in Uncategorized

 

Tags:

สิ่งที่ได้จากการเรียนรู้ในรายวิชาบริการสารสนเทศ

สิ่งที่ได้จากการเรียนรู้ในวันที่ 21 สิงหาคม 2554

บริการยืมระหว่างห้องสมุด/สถาบัน
(Inter Library Loan-ILL)

บริการที่สถาบันหรือสถาบันบริการสารสนเทศร่วมมือกันในการให้บริการขอใช้วัสดุห้องสมุดภายในสถาบัน หรือสถาบันบริการสารสนเทศแห่ง อื่นๆ โดยมีข้อตกลงร่วมกันระหว่างสถาบันสาขากับสถาบันศูนย์กลางหรือระหว่างสถาบันในประเทศหรือยืมระหว่างสถาบันที่อยู่ต่างประเทศ

ปรัชญาของบริการ ILL

ไม่มีห้องสมุดใดที่สามารถจัดหาทรัพยากรที่สามารถสนองตอบความต้องการสารสนเทศผู้ใช้ได้ทั้งหมด และความต้องการของผู้ใช้เป็นสิ่งที่ต้องสามารถจัดการให้สามารถสนองตอบได้ให้ดีที่สุด

วัตถุประสงค์

  1. ส่งเสริมให้วิจัยและการศึกษาในเชิงลึก โดยยึดถือหลักการให้ยืมสำหรับสิทธิขั้นพื้นฐานของผู้ใช้ห้องสมุด
    1. ให้บริการแก่ผู้ใช้มากขึ้นในการลงทุนคงที่เดิม
    2. ให้บริการคงเดิมในราคาที่ถูกกว่าเดิมหรือลงทุนน้อยลง

องค์ประกอบการบริการยืมระหว่างห้องสมุด

  1. การสร้างเครือข่ายความร่วมมือ  PULINET  THAILIST OHIOLINK  WORLDCat
  2. การสร้างข้อตกลงความร่วมมือในการบริการยืมระหว่างห้องสมุด
  3. แบบฟอร์มบริการยืมระหว่างห้องสมุด
  4. สมาชิกเครือข่าย

งาน ILL ประกอบด้วย ขอยืม (Borrowing) และให้ยืม (Lending) ซึ่งสถาบันจะเป็นผู้ควบคุมกำหนด นโยบายของแต่ละสถาบันในการยืม กฏระเบียบ

การดำเนินงานบริการยืมระหว่างห้องสมุด

  1. การดำเนินงานด้วยระบบมือ (Non-automated ILL)
  2. การดำเนินงานในระบบอัตโนมัติ (Automated ILL) เป็นการยืมระหว่างห้องสมุดผ่านเครือข่ายอินเทอร์เน็ต

การบรรจุหีบห่อและการจัดาชส่ง

การบรรจุหีบห่อทรัพยากรสารสนเทศที่ถูกยืมต้องทำอย่างระมัดระวัง เนื่องจากความเสียหายอาจ

เกิดขึ้นได้ภายใต้สภาวการณ์ต่างๆ รูปแบบในการจัดส่งสารสนเทศผู้ใช้บริการจะจัดส่งได้หลายวิธี เช่นไปรษณีย์,  CD-ROM, บริการส่งพัสดุ , บริการรับส่งเอกสาร (Courier service), จัดส่งทางโทรสารและส่งทางอิเล็กทรอนิกส์ (Email) สำหรับในการจัดส่งต้องคำนึงถึงกฎหมายลิขสิทธิ์ด้วย

บริการนำส่งเอกสาร

(Document Delivery services :DD) 

การจัดหาเอกสารที่ผู้ใช้ต้องการทั้งเอกสารที่พิมพ์เผยแพร่ และ ยังไม่ได้เผยแพร่ และ จัดส่งในรูปแบบกระดาษ หรือ วัสดุย่อส่วน หรือ เอกสารอิเล็กทรอนิกส์ ด้วยวิธีการส่งที่มีประสิทธิภาพ มีการคิดค่าบริการสำหรับผู้ใช้ บริการนี้เกี่ยวกับลิขสิทธ์ที่ผู้บริการนำส่งจะต้องขออนุญาตผู้มีสิทธิในผลงาน และเสียค่าลิขสิทธ์ให้ถูกต้องก่อนทำสำเนาถึงลูกค้าด้วย (สีปาน ทองทิพย์ 2543)

ปรัชญาของการบริการ

ไม่มีห้องสมุดใดที่สามารถมีทรัพยากรสารสนเทศครบตามที่ผู้ใช้ต้องการ สนองตอบความต้องการของผู้ใช้ได้อย่างมีประสิทธิภาพและทั่วถึง และสามารถแก้ปัญหาการบริการให้แก่ผู้ใช้ ในเรื่อง ไฟ น้ำท่วม หรือในกรณีที่เกิดการสูญหายได้อย่างมีประสิทธิภาพ รวมทั้ง เพิ่มศักยภาพในการทำงาน ซึ่งในการบริการผู้ใช้นั้นผู้ที่ให้บริการจะต้องมีการเพิ่มหรือเสริมสร้าง ศักยภาพของตนเองอยู่เสมอ เพื่อแสดงให้เห็นถึงการบริการที่มีคุณภาพ
วัตถุประสงค์ของการบริการ

การให้บริการนำส่งเอกสารของห้องสมุดนั้นจะใช้รูปแบบการบริหารจัดการแบบ Just in time คือ เป็นรูปแบบในการบริหารจัดการในการให้บริการแก่ผู้ใช้ที่าสามารถนำทรัพยากรมา ให้ผู้ใช้ได้ไม่ว่าจะอยู่ที่ไหนก็ตาม สามารถค้นหาได้ทันเวลาและทันต่อเหตุการณ์

วิธีการนำส่ง สามารถให้บริการทั้งภายในและภายนอกขององค์กร

1. ทางไปรษณีย์

2. ทางโทรสาร

3. ยานพาหนะ

และมีการส่งในรูปแบบอิเล็กทรอนิกส์  ซึ่งจะมีความรวดเร็ว

1. e-mail

2. นำส่งด้วยภาพลักษณ์เอกสาร : Prospero (oss) ส่งเอกสารแบบ Tiff file แจ้งทางอีเมล์

 

ผู้ให้บริการ

  1. สถาบันบริการสารสนเทศ ดำเนินการจัดส่งทั้งภายในและภายนอกสถาบัน แต่ก็ต้องมีข้อตกลงร่วมกัน
  2. ตัวแทนจัดหาและจัดส่งเอกสาร

2.1 ผู้ให้บริการทั่วไป  เช่น Ingenta ผู้ให้บริการเฉพาะด้านสาขาวิชา  เช่น Proquest

2.2  ผู้ให้บริการที่เป็นสำนักพิมพ์  เช่น Elsevier Science, SpringerLink

2.3  ผู้ให้บริการที่เป็นผู้จำหน่ายฐานข้อมูล  เช่น Dialog, Dissertation Abstract Online-DAO

2.4  ผู้ให้บริการที่เป็นนายหน้าค้าสารสนเทศ  เช่น Infotrieve

 

การดำเนินการ

ผู้ใช้สามารถกรอกแบบฟอร์ม DD  ด้วยกระดาษ อัตโนมัติ หรือขอบริการออนไลน์ โดยสมัครสมาชิก

ข้อคำนึงการให้บริการ 

1. ลิขสิทธิ์

2. ค่าใช้จ่ายในการนำส่งเอกสาร  ค่าสำเนา ค่าส่ง บุคลากร ค่าลิขสิทธิ์ตอบแทน ค่าตรวจสอบแหล่งสารสนเทศ

ค่าบอกรับ ผู้ใช้จะต้องรับผิดชอบ

3. การเข้าถึงและ กรรมสิทธิ์

4. ความสามารถในการเข้าถึงต่างระบบ

5. ค่าเสียหายที่อาจเกิดขึ้น

การดำเนินการเมื่อได้รับเอกสาร

  1. แจ้งผู้ขอทันที
  2. จัดการให้มีการส่งคืนตามกำหนด
  3. บทความที่ให้บริการเป็นของผู้ขอใช้

บริการสารสนเทศทันสมัย

Current awareness services (CAS)

บริการสารสนเทศทันสมัย เป็นบริการแจ้งให้ผู้ใช้ทราบถึงสารสนเทศใหม่ๆ ตามความสนใจของผู้ใช้ทันทีที่สถาบันฯได้รับทรัพยากรสารสนเทศ หรือทราบว่ามีสารสนเทศนั้นเกิดขึ้น  ในรูปแบบที่หลากหลาย จากสารสนเทศสิ่งพิมพ์ หนังสือ วารสาร เอกสารการประชุม วิทยานิพนธ์) สารสนเทศอิเล็กทรอนิกส์ เสียง (Audio) วิดีโอ สื่อประสม  (Fourie, 1999)

ปรัชญาของการบริการ

เอกสารเหมาะสม ที่ทันกาลสำหรับบุคคลที่ต้องการ

วัตถุประสงค์ของการบริการ

(Fourie, 1999) เพื่อตอบสนองความต้องการของผู้ใช้ให้ได้สารสนเทศที่ทันสมัย และตรงต่อความต้องการหรือความสนใจอย่างรวดเร็ว และเปิดโอกาสในการเข้าถึง ส่งเสริมการค้นคว้าวิจัย ประหยัดเวลาผู้ใช้  โดยการบริการนี้จะให้ประโยชน์ก็ต่อเมื่อสามารถตอบสนองตามความต้องการของผู้รับ

รูปแบบการบริการ CAS

  1. การเวียนเอกสาร หรือจัดส่งโดยตรง เนื่องจากมีการนำเทคโนโ,ยีเข้ามาใช้จึงทำให้งานบริการนี้สามารถส่งสารสนเทศใหม่ หรือผู้ใช้ต้องการรับข้อมูลข่าวสารใหม่ๆ ผ่านทางอีเมล์ หรืออินเทอร์เน็ตได้อย่างรวดเร็ว
  2. การจัดแสดงทรัพยากรสารสนเทศใหม่ หนังสือ วารสาร  สถาบันศูนย์สารสนเทศหรือห้องสมุด อาจจะมีการจัดบิร์ดนิทรรศการข่าวสารใหม่ๆ ของห้องสมุดได้เพื่อให้ผู้ใช้ได้เข้าถึงและทราบความเปลี่ยนแปลงสิ่งใหม่ๆ หรือสารสนเทศใหม่ได้อีกช่องทางหนึ่ง

การให้บริการ บริการสารสนเทศทันสมัยอาจให้สารสนเทศใหม่ๆแก่ผู้ใช้ที่เกี่ยวกับ เอกสารวิจัย, เว็บไซต์, สิ่งพิมพ์/ฐานข้อมูล/อินเทอร์เน็ตและข่าว/เหตุการณ์เป็นต้น

 
Leave a comment

Posted by on August 27, 2011 in Uncategorized

 

Tags:

ความรู้ที่ได้จากการสัมมนาเรื่อง บริการรูปแบบสมัยใหม่

วันที่ 24 กรกฎาคม 2554

มาตรฐานการแลกเปลี่ยนข้อมูลบรรณานุกรม

1.  Z 39.50

มาตรฐานการแลกเปลี่ยนข้อมูลบรรณานุกรมระหว่าง ILS โดยมีผู้คิดค้นการพัฒนาซอฟย์แวร์จำลองการทำงานคือ Mercury Z 39.50 Clients สำหรับประเด็นที่น่าสนใจของ Z 39.50 คือ

1. ระบบห้องสมุดที่จัดหาหรือจัดซื้อมีการพัฒนาโดยไม่มีโมดูล Z 39.50

2. ระบบห้องสมุดที่ใช้อยู่มีโมดูล Z 39.50 แต่ห้องสมุดไม่ทราบในการเปิดใช้งานและการใช้งาน

3. ห้องสมุดหรือบรรณารักษ์ ไม่รู้จัก Z 39.50 มาก่อน

4. หนังสือส่วนมากของห้องสมุดเป็นภาษาไทย ซึ่งระบบห้องสมุดที่เปิด Z 39.50 ของประเทศ

ไทยมีน้อยหรือไม่เปิดระบบให้ใช้บริการ

2.  Z 39.88

มาตรฐานการแลกเปลี่ยนข้อมูลบรรณานุกรมจากห้องสมุดหรือทรัพยากรสารสนเทศสู่

โปรแกรมประยุกต์ ในที่นี้การพัฒนาเว็บแยกเป็น 2 กรณี

  1. โปรแกรมทำมือ สร้างเป็นนามสกุล .php, .html, .htm
  2. พัฒนาดเวยซอฟย์แวร์ เช่น CMS- Joomla, Drupal

ซึ่งเว็บที่ทำต้องให้Google เก็บข้อมูลได้ โดยไฟล์ต้องประกอบการทำเว็บมีกี่ไฟล์ ดังนี้

1 html                                    1 ppt

3 jpg                                      1 pdf

โดยทุกไฟล์ต้องฝัง Metadata ที่จำเป็น

– 1 html  ฝัง web Meta Tag ในโปรแกรม Dreamweaver ใส่ meta เข้าไป ดังนี้

<meta name=”keyword” content=”คำค้น”/>

<meta name=”Author” content=”หน่วยงาน/ผู้สร้างสรรค์”/>

<meta name=”description” content=”คำอธิบาย”/>

– 3 jpg  ฝัง IPTC  จะทำในโปรแกรม Photoshop

– 1 ppt  ฝัง Document metadata

– 1 pdf  ฝัง PDF metadata

ซึ่งการทำ Metadata ใน Z 39.88 ต้องเพิ่ม metadata อีกอย่างละ 5 meta ใน html

<meta name=”keyword” content=”คำค้น”/>

<meta name=”Author” content=”หน่วยงาน/ผู้สร้างสรรค์”/>

<meta name=”description” content=”คำอธิบาย”/>

(ให้ข้อมูลกับ Search engine)

<meta name=”DC.title” content=”ชื่อเรื่อง”/>

<meta name=” DC.Author” content=”หน่วยงาน/ผู้สร้างสรรค์”/>

<meta name=” DC.description” content=”คำอธิบาย”/>

                                <meta name=” DC.keyword” content=”คำค้น”/>

                                <meta name=” DC.createdate” content=”วันที่”/>

( DC Meta Tag ให้บรรณานุกรมกับ Application เช่น Reference Manager ผ่านมาตรฐาน Z 39.88)

                                <meta name=” citation_ title” content=”ชื่อเรื่อง”/>

                                <meta name=” citation_ author” content=”หน่วยงาน/ผู้สร้างสรรค์”/>

                                <meta name=” citation_ description” content=”คำอธิบาย”/>

                                <meta name=” citation_ keyword” content=”คำค้น”/>

                                <meta name=” citation_ createdate” content=”วันที่”/>

                                <meta name=” citation_ publishdate” content=”วันที่พิมพ์”/>

                                <meta name=” citation_ pdf_url” content=”ที่อยู่”/>

                                <meta name=” citation_ journal_title” content=”ชื่อบทความ”/>

                                <meta name=” citation_ volume” content=”เล่มที่”/>

                <meta name=” citation_ issue” content=”ฉบับที่”/>

                                <meta name=” citation_ firstpage” content=”หน้าแรก”/>

<meta name=” citation_ lastpage” content=”หน้าสุดท้าย”/>

3.  การเพิ่ม Webmetric Ranking

                โปรแกรมพัฒนา IR

–                   ePrints

–                   DSpace

–                   Mediatums

–                   Omeka

 
Leave a comment

Posted by on July 30, 2011 in Uncategorized

 

Tags:

ความรู้ที่ได้รับจากการสัมมนา เรื่องบริการรูปแบบสมัยใหม่

วันที่ 23 กรกฎาคม 2554

ความรู้ที่ได้รับจากอาจารย์บุญเลิศ อรุณพิบูลย์

สำนักงานพัฒนาวิทยาศาตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ

บริการรูปแบบสมัยใหม่ (New Service)

1.  Cloud Computing

เป็นระบบการทำงานที่เป็นกลุ่มก้อน โดยผู้ใช้ต้องใช้ผ่านอินเทอร์เน็ต ซึ่งผู้ให้บริการจะติดตั้ง Server แบบกระจัดกระจาย ในที่นี้ OCLC ได้นำมาประยุกต์ใช้โดยการนำเอาห้องสมุดทั้งหมดมาเชื่อมต่อกัน และนำ Cloud ILS และ Cloud OPAC มาใช้ร่วมกัน

ที่มาของภาพ  http://www.sditt.net/images/cloudcomputing-2.jpg

ซึ่ง Cloud Computingสามารถแยกประเภทได้หลายประเภทดังนี้

1.1      แยกตามกลุ่มผู้ใช้

Cloud ระดับองค์กร

Cloud ระดับบุคคล/บริการ เช่น Gmail, Facebook, Meebo

Cloud ผสม เช่น ม.ธรรมศาสตร์จะให้บริการทั้งแบบองค์กรและบุคคล

1.2      แยกตามการให้บริการ

Public Cloud       ใช้แบบสาธารณะ

Private Cloud      ใช้แบบส่วนบุคคล

Hybrid Cloud      ใช้แบบผสม

1.3      แยกตามประเภทของเทคโนโลยี

SaaS (Software as a Service)

IaaS  (Infrastructure as a Service)

PaaS  (Platform as a Service)

2.  Mobile Device

เป็นการให้บริการบนมือถือ ซึ่งในห้องสมุดจะต้องมีการให้บริการทางห้องสมุดผ่านทาง

มือถือ โดยห้องสมุดจะต้องมีการวิเคราะห์ข้อมูลเพื่อให้รู้จักผู้ใช้และพฤติกรรมการใช้ จากเว็บไซต์

สถิติของประเทศไทย

ที่มาของภาพ http://www.diymarketers.com/wp-content/uploads/2011/01/mobiledevices.jpg

3.  Digital Content & Publishing

3.1      E-book

เป็นหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ที่ให้บริการแก่ผู้ใช้ผ่านทางระบบคอมพิวเตอร์ ซึ่งอาจจะอยู่

ในรูปออนไลน์บนเว็บ ซึ่งในการทำ E-book  ผู้จัดทำต้องรู้ถึงการได้มาของเนื้อหา กระบวนการผลิตและรูปแบบ ซึ่งผู้จัดทำจะต้องวางแผน และคิดรูปแบบในการนำเสนอโดยต้องสำรวจความต้องการของผู้ใช้ด้วย และที่สำคัญต้องคำนึงถึงลิขสิทธิ์ ต้นฉบับและการเผยแพร่ ในที่นี้รูปแบบของ E-book มีหลายรูปแบบ ดังนี้

3.2      IR

3.3      Digital Library

3.4      OJS

4.  Crosswalk Metadata

ประเภทของเมทาดาทา ดังนี้

  1. MARC
  2. MARCML
  3. Dublin Core
  4. CDWA          เป็นเมทาดาทาที่ใช้ในห้องสมุดพิพิธภัณฑ์
  5. RDF                                               .
  6. OWL
  7. MODs
  8. METs ใช้ในการทำห้องสมุดดิจิทัล ซึ่งมี 2 สถาบันที่ได้นำไปใช้ คือ สถาบันพรปกเกล้าและ ม.สุโขทัยธรรมาธิราช
  9. PDF Metadata
  10. EXIF   เป็นเมทาดาทาที่เก็บรายละเอียดเกี่ยวกับรูปถ่าย โดยสถาบันข่าวซีเอ็นเอ็นได้นำเมทาดาทาไปใช้
  11. XMP
  12. IPTC
  13. Doc Metadata

5.  Open Technology

5.1      Z 39.5 เป็นมาตรฐานการแลกเปลี่ยนข้อมูลบรรณานุกรมหนังสือผ่าน ILS และเป็น Open

Technology ในยุคเดิมที่ห้องสมุดคุยกับห้องสมุด ILS <—> ILS

5.2      Z 39.88 เป็นมาตรฐานการแลกเปลี่ยนข้อมูลบรรณานุกรมจากห้องสมุดหรือทรัพยากรสารสนเทศสู่โปรแกรมประยุกต์ Lib <—> Apps.

5.3      OAI-PMH  เป็นการทำ One Search

5.4      Linked Data เป็น Semantic Web หรือ เทคโนโลยี Web 3.0

5.5      Metadata

5.6      Bibliography

6.  Data & Information Mining/Visualization

“Visual  Search  engine”

7.  Green Library

ห้องสมุดที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม โดยจะมี 2 ช่วง คือ ช่วงที่ 1 Green Buiding การทำภูมิทัศน์ให้เป็นสีเขียว และช่วงที่ 2 Green ICT

ที่มาของภาพ http://2.bp.blogspot.com/_j14qBURDo10/Scrk2YUErjI/AAAAAAAAAGA/UPrB7nwjDIg/s320/1.bmp

 
Leave a comment

Posted by on July 30, 2011 in Uncategorized

 

Tags:

สิ่งที่ได้จากการเรียนรู้รายวิชา บริการสารสนเทศ

วันที่ 18 กรกฎาคม 2554

บริการสอนการใช้ (Instruction services)

ที่มาของภาพ : http://www.wpi.edu/Academics/Library/Faculty/Images/christine_laba.jpg

              เป็นการสอนผู้ใช้ในการค้นคว้า และการใช้เครื่องมือค้นได้อย่างถูกต้อง ไม่ว่าจะเป็น บัตรรายการ หนังสืออ้างอิง การสืบค้นออนไลน์  การบริการสอนการใช้จะมีวัตถุประสงค์ให้ผู้ใช้มีการรู้สารสนเทศ (information literacy skills)

สมาคมห้องสมุดอเมริกันได้กำหนดไว้ คือ “หน้าที่ของห้องสมุดทุกประเภทคือต้องจัดการให้ผู้ใช้มีโอกาสเข้าใจในระบบการจัด การสารสนเทศ การแนะนำการใช้ห้องสมุดถือเป็นหลักการแรกในการให้บริการ”

               ปรัชญาการบริการ  เป็นบริการที่ช่วยให้ผู้ใช้สามารถเข้าถึงสารสนเทศได้ด้วยตนเอง และส่งเสริมการเรียนรู้ตลอดชีวิต (Lifelong Learning)

การรู้สารสนเทศ  เป็นเครื่องมือในการพัฒนาความรู้ความสามารถของผู้ใช้ให้มีความสามารถในการคิดวิเคราะห์อย่างมีระบบ มีวิจารณญาณ และความสามารถในการสร้างองค์ความรู้ใหม่  นำไปสู่การเรียนรู้ตลอดชีวิต รวมถึงการพัฒนาประเทศสู่สังคมแห่งการเรียนรู้ ในสังคมใหม่ที่มีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว

เทคโนโลยีทางด้านการรู้สารสนเทศ

Kindle

ที่มาของภาพ: http://www.blogsdna.com/wp-content/uploads/2010/05/Kindle-front.png

Sony eReader

ที่มาของภาพ: http://www.blogcdn.com/www.engadget.com/media/2009/11/sony-reader-daily-upright.jpg

Nook

ที่มาของภาพ: http://maxcdn.jaypeeonline.net/images/nook_ereader3.jpg

Skiff Reader

 

ที่มาของภาพ : http://www.islates.us/wp-content/uploads/2010/02/Skiff_Reader.jpg

Apple  – iPad  iPhone

 

ที่มาของภาพ : http://cdn.clickonf5.org/wp-content/uploads/2010/05/apple_iphone_ipad_thumb.jpg

UNESCO (2008) ได้กำหนดทักษะของผู้ใช้ ว่าการรู้ของผู้ใช้คือความสามารถของปัจเจกชนในการตระหนักรู้ถึงความต้องการสารสนเทศของตนเอง รู้ถึงวิธีการในการสืบค้นเพื่อหาสารสนเทศที่ต้องการและสามารถประเมินคุณภาพของสารสนเทศที่หามาได้ อีกทั้งต้องรู้จักวิธีการจัดเก็บและเรียกสารสนเทศมาใช้เมื่อต้องการโดยใช้สารสนเทศอย่างมีประสิทธิผลและมีจริยธรรม และสามารถประยุกต์ใช้สารสนเทศเพื่อสร้างและสื่อสารความรู้ได้ด้วย

ในต่างประเทศ มีการส่งเสริมการรู้สารสนเทศโดยกำหนดทักษะและมาตรฐานในการรู้สารสนเทศทั้งในระดับนักเรียน นักศึกษาในระดับอุดมศึกษา นอกจากนี้ยังมีการกำหนดมาตรฐานการทดสอบการรู้สารสนเทศเพื่อวัดผลการรู้สารสนเทศของนักเรียนนักศึกษาอีกด้วย

สำหรับในประเทศไทย ได้ให้ความสำคัญในการสร้างการเข้าถึงและใช้ประโยชน์จากโครงสร้างพื้นฐานที่เป็นBroadband Internet โดยเร็วในการใช้ประโยชน์ให้คำนึงถึงและให้ความสำคัญกับบริการบนMobile device รวมทั้งสร้างทรัพยากรมนุษย์ของประเทศที่มี ICT Literacy, Information Literacy และMedia Literacy มีความสามารถในการเรียนรู้ตลอดชีวิต ซึ่งสำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ กำหนดทักษะที่ 3 ประการในแผนพัฒนาทุนมนุษย์ คือ

  1. ทักษะในการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร (ICT literacy)
  2. การรอบรู้ การเข้าถึง และใช้สารสนเทศอย่างมีวิจารณญาณ หรือมีทักษะการรู้สารสนเทศ (Information Literacy
  3. การรู้เท่าทันสื่อ (Media literacy)

ผู้รู้สารสนเทศ คือ ผู้ที่มีทักษะในด้านสารสนเทศ ดังนี้

  1. มีความตระหนักว่าสารสนเทศเป็นประโยชน์ต่อการตัดสินใจ และสารสนเทศที่ถูกต้องจะช่วยให้สามารถทำงานได้ดีขึ้น
  2. มีความสามารถและรู้ว่าจะได้สารสนเทศจากที่ใด และจะสืบค้นสารสนเทศได้อย่างไร
  3. มีความสามารถในการประเมินสารสนเทศและแหล่งสารสนเทศในฐานะเป็นผู้บริโภคสารสนเทศที่มีวิจารณญาณ
  4. มีความสามารถในการประมวลสารสนเทศกล่าวคือสามารถในการคิดและการวิเคราะห์สารสนเทศ
  5. มีความสามารถในการใช้และสื่อสารสารสนเทศให้บรรลุตามวัตถุประสงค์ได้อย่างมีประสิทธิภาพ
  6. มีทักษะอื่นที่เกี่ยวข้องกับการรู้สารสนเทศ เช่น การรู้คอมพิวเตอร์ การรู้เทคโนโลยีและการสื่อสาร

American Library Association-ALA ได้กำหนดมาตรฐานการรู้สารสนเทศ 

มาตรฐานที่ 1      นักศึกษาที่ได้ชื่อว่าเป็นผู้รู้สารสนเทศ  จะต้องมีความสามารถที่จะเข้าถึงสารสนเทศได้อย่างมี

ประสิทธิภาพและประสิทธิผล

มาตรฐานที่ 2       นักศึกษาที่ได้ชื่อว่าเป็นผู้รู้สารสนเทศ  จะต้องมีความเชี่ยวชาญ และมีวิจารณญาณในการ

ประเมินสารสนเทศ

มาตรฐานที่ 3       นักศึกษาที่ได้ชื่อว่าเป็นผู้รู้สารสนเทศ  จะต้องใช้สารสนเทศอย่างถูกต้อง และสร้างสรรค์

มาตรฐานที่ 4       นักศึกษาที่ได้ชื่อว่าเป็นผู้เรียนรู้อย่างอิสระด้วยการรู้สารสนเทศและติดตามสารสนเทศที่

เกี่ยวข้องกับความสนใจของตนเอง

มาตรฐานที่ 5       นักศึกษาที่ได้ชื่อว่าเป็นผู้เรียนรู้อย่างอิสระด้วยการรู้สารสนเทศ ด้วยการนำวรรณกรรมและ

สารสนเทศไปประยุกต์ใช้ในการสร้างสรรค์ด้านอื่นๆ ด้วย

มาตรฐานที่ 6       นักศึกษาที่ได้ชื่อว่าเป็นผู้เรียนรู้อย่างอิสระด้วยการรู้สารสนเทศ และไขว่คว้าเพื่อให้เกิด

ความสามารถในการค้นคืนสารสนเทศและสร้างความรู้

มาตรฐานที่ 7       นักศึกษาที่ได้ชื่อว่าเป็นผู้เกื้อกูลต่อสังคมอย่างแท้จริง  เพื่อชุมชนการเรียนรู้ และสังคม

การเรียนรู้สารสนเทศ  จะต้องยอมรับถึงความสำคัญของสารสนเทศที่มีต่อสังคมระบอบ

ประชาธิปไตย

มาตรฐานที่ 8       นักศึกษาที่ได้ชื่อว่าเป็นผู้เกื้อกูลต่อสังคมอย่างแท้จริง  เพื่อชุมชนการเรียนรู้ และ สังคม

การเรียนรู้สารสนเทศ จะต้องฝึกปฏิบัติตนให้มีพฤติกรรมที่มีมารยาท  และจรรยาบรรณเกี่ยวกับสารสนเทศ

และเทคโนโลยีสารสนเทศ

มาตรฐานที่ 9       นักศึกษาที่ได้ชื่อว่าเป็นผู้เกื้อกูลต่อสังคมอย่างแท้จริง  เพื่อชุมชนการเรียนรู้  และสังคมการ

รู้สารสนเทศ จะต้องมีส่วนร่วมกับกลุ่มที่มีการติดตาม  และสร้าง  สารสนเทศได้อย่างมีประสิทธิผล

ในที่นี้ห้องสมุดได้มีการส่งเสริมการรู้สารสนเทศที่อยู่ในส่วนของบริการสอนการใช้ (Instruction Services) ซึ่งบริการที่ต้องการให้ผู้ใช้รู้จักวิธีการค้นคว้า คือ แนะนำการใช้ห้องสมุด ทรัพยากรสารสนเทศ ซึ่งอาจครอบคลุมถึงการสืบค้นฐานข้อมูล การใช้ฐานข้อมูล การใช้ทรัพยากรสารสนเทศประเภทต่างๆ  ทั้งที่เป็นสิ่งพิมพ์และสื่ออิเล็กทรอนิกส์  การประเมินทรัพยากรสารสนเทศ  เพื่อให้ผู้ใช้สามารถเรียนรู้การค้นคว้าได้ด้วยตนเอง

ลักษณะการจัดบริการ มี 2 ลักษณะ

  1. บริการเฉพาะบุคคล (One-to-One Instruction) เป็นการบริการช่วยเหลือผู้ใช้เมื่อผู้ใช้มีปัญหาต้องการความช่วยเหลือ
  2. บริการเป็นกลุ่ม (Group Instruction)

–  นำชมห้องสมุด

–  บริการสอนการใช้เครื่องมือการค้น  One-Short Lectures

–  บริการสอนการค้นคว้า

การสอนการรู้สารสนเทศในสถาบันการศึกษา แบ่งออกเป็น 6 ลักษณะ ดังนี้

  1. การสอนเป็นรายวิชาอิสระ (Stand-Alone Course or Class)เป็นรายวิชาหนึ่งของหลักสูตรซึ่งอาจจะเป็นวิชาบังคับหรือวิชาเลือกขึ้นอยู่กับนโยบายของสถาบันการศึกษาแต่ละแห่ง
  2. การสอนเป็นส่วนหนึ่งของรายวิชา (Course-Related Instruction) เป็นการสอนการรู้สารสนเทศที่สอดแทรกอยู่ในรายวิชาต่างๆ เพื่อช่วยให้ผู้เรียนรู้จักการสืบค้นสารสนเทศที่เกี่ยวข้องกับรายวิชานั้นๆ
  3. การสอนแบบบูรณาการกับรายวิชาอื่นในหลักสูตร (Course-Integrated Instruction) เป็นการสอนที่พัฒนาขึ้นมาอีกระดับหนึ่ง โดยจัดทำหลักสูตรตั้งแต่การกำหนดวัตถุประสงค์ และรูปแบบสอนจะต้องสอดคล้องกับกิจกรรมการสอนในรายวิชา ซึ่งอาจารย์ผู้สอนและบรรณารักษ์จะต้องทำงานร่วมกัน
  4. โปรแกรมสอนห้องสมุด (One short Instruction)  เป็นโปรแกรมที่สอน อบรม ปฏิบัติการโดยห้องสมุด
  5. บทเรียนออนไลน์ (Online Tutorials) เป็นการสอนผ่านเว็บไซต์มีการใช้สื่อประสม และเทคโนโลยีอินเทอร์เน็ตช่วยในการพัฒนาบทเรียนให้สามารถเรียนรู้ได้ด้วยตนเอง
  6. สมุดฝึกหัด (Workbook) ประกอบด้วยเนื้อหาบทเรียนกะทัดรัด และเน้นการทำแบบฝึกหัดเพื่อฝึกทักษะการรู้สารสนเทศ
 
Leave a comment

Posted by on July 22, 2011 in Uncategorized

 

Tags:

สิ่งที่ได้จากการเรียนรู้รายวิชา บริการสารสนเทศ

สิ่งที่ได้จากการเรียนรู้รายวิชา บริการสารสนเทศ ในวันที่ 10 กรกฎาคม 2554

บริการยืมคืน

การบริการยืมคืน  ผู้ใช้จะยืมคืนทรัพยากรสารสนเทศได้ต้องมีบัตรสมาชิก โดยบัตรสมาชิกมีหลายประเถท ดังนี้

  1. บัตรพลาสติก ส่วนใหญ่จะใช้กับผู้ใช้ที่เป็นเด็ก เนื่องจากเด็กยังไม่มีความรับผิดชอบเท่าที่ควร

ที่มาของภาพ : http://www.pantipmarket.com/_data/board/04/9883804/picture/9883804-3.jpg

           2.  บัตรติดแถบแม่เหล็ก  จะใช้งานในห้องสมุดสำหรับบุคคลที่ต้องการเข้าใช้บริการห้องสมุด  เพื่อเป็นระบบ securityในห้องสมุด  บัตรติดแถมแม่เหล็กจะมีลักษณะอยู่ 2 แบบด้วยกัน คือ

2.1 บัตรที่ไม่เกี่ยวกับเงิน   เป็นบัตรที่มีการใช้อย่างกว้างขวางที่ไม่มีธุรกรรมทางการเงิน เช่น บัตรสมาชิก บัตรเข้าออก บัตรเข้าสถานที่ บัตรจอดรถ บัตรเก็บข้อมูล เป็นต้น

ที่มาของภาพ : http://www.nasaicream.com/userfiles/product-image/f8cc5f94-8aca-40be-be1d-f304c5d238a0/01017.jpg

                      2.2 บัตรที่เกี่ยวกับทางการเงิน เป็นบัตรที่มีระบบการป้องกันระดับสูง มีการเข้ารหัสในการใช้งาน เช่น       บัตรธนาคารเบิกเงินสด (ATM) บัตรเดบิต บัตรวีซ่า และมาสเตอร์การ์ด เป็นต้น

ที่มาของภาพ : http://anymass.com/classified/images/724/30_01_11_14_10_16_MC8Cf_l.jpg

           3. บัตรติดรหัสแถบ  เป็นบัตรที่ผู้ใช้นำมาใช้บริการในการยืมคืนทรัพยากรสารสนเทศในห้องสมุด บัตรติดรหัสแถบจะมีอยู่ด้วยกัน  2 แบบ ดังนี้

3.1 แบบที่มีรหัสแถบ เป็นแบบที่ช่วยให้ผู้ใช้ได้ยืมคืนทรัพยากรสารสนเทศได้เร็วยิ่งขึ้น

3.2 แถบแม่เหล็กและบาร์โค้ด เป็นบัตรที่มีแถบแม่เหล็ก ติดอยู่ที่บัตร เพื่อให้ผู้ใช้สามารถเข้าใช้บริการห้องสมุดส่วนบาร์โค้ดจะช่วยให้ผู้ใช้ได้ยืมคืนทรัพยากรสารสนเทศ

4. บัตรติดชิพหรือบัตรอัจฉริยะ เป็นบัตรที่สามารถใช้งานได้อย่างหลากหลาย เช่น

–          บัตรทำงานแบบสัมผัส บัตรนี้จะมีการทำงานที่นำตัวชิพที่ด้านหน้าของบัตรเข้าเครื่องอิเล็กทรอนิกส์เพื่ออ่านค่าใน    การทำงาน ซึ่งบัตรนี้สามารถเก็บข้อมูลได้เป็นจำนวนมาก มีความปลอดภัยสูง เช่นบัตรเครดิต บัตรประชาชน เป็นต้น

ที่มาของภาพ : http://1.bp.blogspot.com/7QFcNLu1tqs/TgNo2oatxFI/AAAAAAAAADY/xJsqGGilVPk/s1600/28.jpg

–          บัตรทำงานแบบไม่สัมผัสที่มาของภาพ : http://angsila.cs.buu.ac.th/~50630986/IS/321350_Kantima/PictureCh11_data/RFID/RFID%20Smartsoft%20Technology%20Ltd.htm

–          บัตรทำงานแบบผสม

บริการตอบคำถาม

ที่มาของภาพ : http://www.twi.co.uk/twiimages/library_new2.jpg

บริการตอบคำถาม เป็นบริการพื้นฐานของงานบริการสารสนเทศในห้องสมุด ในที่นี้ปรัชญาของบริการตอบคำถาม คือ

  1. เป็นการให้บริการที่ผู้ใช้สามารถเข้าถึงสารสนเทศได้ตามความต้องการ ซึ่งผู้ให้บริการจะต้องรู้ว่าผู้ใช้อยากได้อะไร ที่ไหน
  2. ความต้องการสารสนเทศเฉพาะบุคคล ห้องสมุดส่วนใหญ่จะให้บริการในภาพรวม แต่จะสนองความต้องการเป็นรายบุคคล
  3. ผู้ใช้ได้มาซึ่งสารสนเทศอย่างรวดเร็ว  ในที่นี้เมื่อผู้ให้บริการร็ว่าผู้ใช้ต้องการอะไร ผู้ให้บริการต้องหาสิ่งนั้นมาให้ผู้ใช้ได้อย่างรวดเร็ว

ความสำคัญของการบริการตอบคำถาม

การบริการตอบคำถามเป็นบริการที่ผู้ให้บริการได้บริการตรงกับความต้องการของผู้ใช้ เพื่อที่

ผู้ใช้จะได้เข้ามาสนับสนุนการใช้ห้องสมุด เพราะมีคนช่วยเหลือให้ผู้ใช้ได้สารสนเทศตามต้องการ และประหยัดเวลาในการค้นคว้าข้อเท็จจริง อีกทั้งเป็นการส่งเสริมความสัมพันธ์ระหว่างห้องสมุดกับผู้ใช้ และส่งเสริมคุณภาพและภาพลักษณ์ของห้องสมุดในทางที่ดีอีกด้วย

หน้าที่ของผู้ให้บริการตอบคำถาม

  1. แสวงหาสารสนเทศสำหรับคำถามที่มีความต้องการเฉพาะทาง
  2. ช่วยเหลือให้ผู้ใช้สามารถค้นสารสนเทศได้ด้วยตนเอง
  3. สอนผู้ใช้สามารถใช้ทรัพยากรสารสนเทศในห้องสมุดและการทำการค้นคว้า สอนทักษะการใช้

วิธี (ระดับ) การให้บริการ

ถ้าเป็นห้องสมุดเฉพาะ  ผู้ให้บริการต้องตอบคำถามอย่างรวดเร็ว และได้สารสนเทศที่ต้องการ

ส่วนห้องสมุดโรงเรียน จะเป็นการสอนการใช้ สำหรับห้องสมุดประชาชน ผู้ให้บริการจะช่วยหาสารสนเทศที่ต้องการ และพัฒนาทักษะการสืบค้นของผู้ใช้ ส่วนห้องสมุดมหาวิทยาลัย  ต้องตอบคำถามอย่างรวดเร็ว  ช่วยค้นสารสนเทศที่ต้องการ สอนการใช้ห้องสมุดเกี่ยวกับทักษะการสืบค้น

บริการตอบคำถาม เป็นบริการที่ช่วยให้ผู้ใช้ได้ข้อมูลและสารสนเทศที่เฉพาตามความต้องการ โดยมีบรรณารักษ์อ้างอิงที่ให้บริการที่โต๊ะตอบคำถาม

ประเภทของคำถามอ้างอิง

  1. คำถามโดยตรง/ข้อแนะนำ ส่วนใหญ่จะบริการยืมคืนที่จะต้องตอบคำถามโดยตรง (เวลาที่ใช้ตอบคำถามประมาณ 5 นาที)
  2. คำถามที่ต้องการข้อเท็จจริง จะใช้เวลาในการตอบคำถามประมาณ 15-20 นาที
  3. คำถามที่ต้องการค้นคว้าข้อเท็จจริง
  4. คำถามที่ต้องอาศัยการคเนคว้าวิจัย เป็นคำถามที่เกินที่อยู่ภายในหองสมุด ซึ่งต้องอาศัยความร่วมมือจากภายนอก โดยจะใช้เวลาตอบคำถามประมาณ 1 วัน

ประเภทของการบริการ

บริการโดยตรง เป็นบริการที่บรรณารักษ์จะออกไปบริการตอบคำถามแก่ผู้ใช้โดยตรง รวมถึงการให้บริการสอนการใช้ในห้องสมุด โดยบรรณารักษ์จะช่วยผู้ใช้เป็นส่วนบุคคลในการสืบค้นสารสนเทศ

บริการโดยอ้อม เป็นการบิรการที่บรรณารักษ์เตรียมดำเนินการ เพื่อเตรียมความพร้อในงานบริการ เช่น       – การเลือกและการจัดหา

– การบริหารและการจัดดำเนินการ

– การขัดหาวิธีทาง

– การประชาสัมพันธ์

– การประเมินผล

– หน้าที่อื่น ๆ

พัฒนาการในงานบริการตอบคำถาม

 

แบบเดิม

แบบใหม่

– บริการที่โต๊ะบริการ

– บริการทางจดหมาย

– บริการทางโทรศัพท์

– บริการทางโทรสาร

บริการออนไลน์ อิเล็กทรอนิกส์

โดยนำเทคโนโลยีเข้ามาช่วย

“digital reference

Virtual reference service”

การบริการตอบคำถามสมัยใหม่

                เป็นบริการที่ผู้ให้บริการออกไปหาผู้ใช้โดยตรง บริการถึงที่ โดยที่ไม่มีโต๊ะให้บริการ และบางห้องสมุดมีการรวมบรรณารักษ์ที่ให้บริการตอบคำถามให้เข้าอยู่กับบริการยืมคืน ซึ่งบริการตอบคำถามสมัยใหม่จะอยู่บนออนไลน์ที่ผู้ใช้สามารถติดต่อผ่านทางอีเมล์, chat, SMS, Twitter, Skype, Video Conference Web call Center, บริการ IM , บริการผ่านทางมือถือ และบริการความร่วมมือระหว่างห้องสมุด

บริการตอบคำถามผ่านทางออนไลน์ (Ask Librarian)ที่มาของภาพ: http://sprft.es.its.nyu.edu/findingtool/sites/default/files/tools/asklib_screen.gif?1243610753

ที่มาของภาพ : http://ipl.ci.fsu.edu/community/uploaded/3/lmon-ieee-poster.gif

                Secord Life เป็นโปรแกรมโลกเสมือนสามมิติ (3D Virtual World) ที่สามารถสร้างสังคมโลกเสมือนจริงที่คนสามารถสร้างตัวตนขึ้นมาและเข้าไปดำเนินชีวิตในชุมชนออนไลน์แบบกราฟิกสามิติบนอินเทอร์เน็ต

ที่มาของภาพ : http://static.flickr.com/110/262304301_8ba571ebef.jpg

 
Leave a comment

Posted by on July 14, 2011 in Uncategorized

 

Tags:

สิ่งที่ได้จากการเรียนรู้รายวิชา 023707 บริการสารสนเทศ

วันที่ 26 มิถุนายน 2554

บริการยืม-คืน/จ่าย/รับ (Circulation Service)


ภาพที่ 1 แสดงเคาร์เตอร์บริการยืมคืนของห้องสมุดเซินเจิ้น

เป้าหมายหลักของบริการยืมคืน

เพื่อเปิดโอกาสให้ผู้ใช้ได้เข้าถึงทรัพยากรสารสนเทศ โดยที่สารสนเทศที่ผู้ใช้ได้รับนั้นสามารถนำไปศึกษาค้นคว้านอกสถาบันได้

ปรัชญา

– เพื่อให้ผู้ใช้มีสิทธิในการเข้าถึงสารสนเทศในห้องสมุดที่เท่าเทียมกัน  และเป็นธรรม

– กำหนดนโยบายและระเบียบ โดยมีวัตถุประสงค์ให้มีการเข้าถึงทรัพยากรสารสนเทศให้มากที่สุด

ซึ่งห้องสมุดจะเป็นผู้กำหนดนโยบายโดยยึกหลักที่ว่าจะทำอย่างไรให้ผู้ใช้ได้เข้าถึงสารสนเทศ

บทบาทหน้าที่

1. ควบคุมงานบริการยืม-คืน เป็นบริการพื้นฐานและภารกิจของห้องสมุดที่ต้องมี รวมทั้งเป้าหมายขององค์กร สำหรับห้องสมุดต้องให้บริการแก่ผู้ใช้ให้สามารถเข้าถึงสารสนเทศได้อย่างรวดเร็ว สะดวก และเท่าเทียมกัน

2. การประชาสัมพันธ์ห้องสมุด เป็นจุดบริการแรกที่ผู้ใช้จะต้องมองเห็นและเข้ามาติดต่อมากในงานห้องสมุด โดยที่ความประทับใจจากความช่วยเหลือและบริการจะมีผลต่อทัศนคติของผู้ใช้ ซึ่งงานบริการนี้อาจจะเป็นการตัดสินคุณภาพการบริการของห้องสมุด ในที่นี้สำหรับห้องสมุดที่มีการยืมคืนด้วยตนเอง จะมี

โต๊ะประชาสัมพันธ์ ซึ่งต้องมีเจ้าหน้าที่ประจำอยู่ประมาณ 2-3 คน เพื่อเป็นบริการเสริมที่ช่วยให้ผู้ใช้ได้เข้าถึงสารสนเทศได้ตามความต้องการ

การประชาสัมพันธ์

เป็นจุดที่มีการบริการทั้งหมด ซึ่งถือว่าเป็นการสร้างความสัมพันธ์กับผู้รับบริการ ในที่นี้เมื่อผู้ใช้ได้เข้าใช้บริการจะทำให้ผู้ใช้เกิดความคาดหวังในตัวของเจ้าหน้าที่ห้องสมุดว่าทราบทุกเรื่อง ดังนั้นการบริการในจุดนี้จึงเป็นสิ่งที่สำคัญมาก เพราะผู้ใช้จะเกิดความพึงพอใจหรือไม่ก็ขึ้นอยู่กับผู้ให้บริการ

สาเหตุที่ผู้ใช้ไม่พอใจในการเข้าใช้บริการห้องสมุด มีดังนี้

– ไม่สามารถหาสิ่งที่ต้องการได้

– ไม่ได้รับการแจ้งเตือนกำหนดส่ง/แจ้งเตือนการส่งล่าช้า

– ระยะเวลาในการยืมสั้น

– จำกัดครั้งในการยืมต่อ

– ค่าปรับ

– เสียงรบกวน

– ไม่พอใจบริการที่ได้รับจากบรรณารักษ์

– อากาศภายในร้อน-เย็น เกินไป

– เครื่องสำเนาเอกสาร คอมพิวเตอร์ อุปกรณ์ ต่างๆ ไม่ทำงาน

– กลิ่น

ระบบการจัดการห้องสมุด

– ห้องสมุดขนาดเล็ก บรรณารักษ์ทำหน้าที่ดูแลงานเจ้าหน้าที่  อีกทั้งยังกำหนดนโยบาย ขั้นตอนการดำเนินงาน กฎระเบียบ และแนะนำดูแลการทำงานเจ้าหน้าที่

– ห้องสมุดขนาดใหญ่ โครงสร้างในการบริหารจะมีหัวหน้าแผนก ดูแลบรรณารักษ์โดยบรรณารักษ์ดูแลงานด้านการจัดการ

– ห้องสมุดขนาดใหญ่มาก โครงสร้างระบบการทำงานจะมีหัวหน้างานดูแลภายใต้การควบคุมของผู้ช่วยบรรณารักษ์ และหัวหน้าบรรณารักษ์ทำหน้าที่ดูแลอีกขั้นหนึ่ง

ความรู้และทักษะที่ต้องการในการปฏิบัติงานห้องสมุด

– มีใจรักในงานบริการ มีความอดทนสูง

– มีความรู้เกี่ยวกับทรัพยากรที่มีไว้ให้บริการ

– มีทักษะการใช้คอมพิวเตอร์ ฐานข้อมูล OPAC

– มีไหวพริบในการแก้ไขปัญหาเฉพาะหน้า โดยลักษณะการตอบคำถามของผู้ให้บริการจะตอบยังไงให้

ผู้ใช้ไม่รู้สึกแย่

– มีมนุษยสัมพันธ์ดี

การจัดการบุคลากรด้านงานบริการ

                – สำหรับการจัดบุคลากรรับผิดชอบเมื่อมีเจ้าหน้าที่ใหม่เข้ามา ไม่ควรปล่อยให้อยู่คนเดียว อย่างน้อยต้องมีเจ้าหน้าที่ที่มีความชำนาญ และมีประสบการณ์คอยกำกับดูแลด้วย

– งานบริการต้องทำงานให้บริการผู้ใช้ตลอด 24 ชั่วโมง และต้องทำงานในวันหยุดราชการ

– งานบริการผู้อำนวยการต้องจัดบุคลากรให้เหมาะสมที่หน้าที่

คุณสมบัติของบุคลากรในห้องสมุด

     บรรณารักษ์

มีแนวคิด เทคนิค วิธีการใหม่ๆ และต้องใส่ใจในการปรับปรุงพัฒนาคุณภาพ และสิ่งที่ใดๆที่เกิดขึ้นใหม่ต้องนำมา

จัดทำขึ้น

     เจ้าหน้าที่ห้องสมุด

ต้องมีการอบรมเพื่อจะได้พัฒนาตนเองให้มีความรู้ความเข้าใจ และรู้จักถึงความต้องการของผู้ใช้

     งานที่เกี่ยวข้อง

– บริการยืม

– บริการจอง

บริการยืม-การคืน

                เป็นบริการยืมคืนทรัพยากรสารสนเทศ โดยมีการกำหนดระยะเวลาในการยืม-คืน ตามนโยบายของแต่ละสถาบัน หากมีสารสนเทศในสถาบันน้อย อัตราการยืมสูงช่วงเวลาการยืมจะสั้นเพื่อให้ผู้อื่นมีโอกาสใช้ในการยืม-คืนของสาบันอาจมีบริการเสริมให้แก่ผู้ใช้ เช่น บริการจองสิ่งพิมพ์ บริการหนังสือสำรอง บริการตรวจสอบหนังสือ บริการตอบคำถามชี้แนะสารสนเทศ บริการยืมระหว่างห้องสมุด บริการล็อกเกอร์รับฝากสิ่งของ  สำหรับค่าปรับการบริการยืมคืน จะปรับก็ต่อเมื่อผู้ใช้ได้กระทำผิดตามกำหนดระยะเวลาในการยืม-คืนซึ่งในการปรับนั้นก็เพื่อที่จะกระจายการเข้าถึงสารสนเทศให้อื่นได้เข้าใช้ และกระตุ้นให้ผู้ใช้ได้มีการส่งคืนตามเวลาที่กำหนด ในการกำหนดค่าปรับทรัพยากรสารสนเทศแต่ละประเภทจะแตกต่างกัน แต่ห้องสมุดก็ควรมีหนังสือแจ้งเตือนวันส่งให้แก่ผู้ไช้ได้ทราบด้วย  ซึ่งผู้ใช้สามารถเสียค่าปรับได้ที่บริการยืม-คืน หรือจ่ายผ่านระบบอัตโนมัติ

เมื่อมีค่าปรับเกิดขึ้นต้องมีปัญหาตามมา ดังนั้นการจัดการกับปัญหาในการปรับ ต้องมีดังนี้

1. การยกเว้น ผ่อนผัน หรือหากไม่มีการส่งคืนและไม่จ่ายค่าปรับ สิทธิในการเข้าใช้ห้องสมุดถูกระงับ

2. ในบางห้องสมุดอาจมีบริการติตามจากบริษัทที่มีบริการติดตาม แต่น้อยมาก

3. ห้องสมุดมหาวิทยาลัยบางแห่งจะทำเรื่องขอระงับกี่ออกใบแสดงผลการเรียนหรือระงับการอนุมัติสำเร็จ

การศึกษา

4. มีการผ่อนผัน ควรกำหนดค่าปรับเป็นจำนวนที่กำหนดโดยไม่นับตามจำนวนค่าปรับจริง

5. ควรกำหนดการผ่อนผันให้สอดคล้องกับระยะเวลาการยืม

6. มีการติดประกาศแจ้งขอความร่วมมือ

7. มีการแจ้งเตือนเป็นระยะก่อนดำเนินการใดๆ ในการจำกัดสิทธิ

การดูแลรักษาทรัพยากรสารสนเทศ จะต้องดูแลรักษา 1 ภาคการเรียนต่อ 1 ครั้ง โดยจะมีเจ้าหน้าที่ตรวจชั้นเป็นผู้รับผิดชอบ

การจัดเก็บทะเบียนผู้ใช้

                ห้องสมุดหรือสถาบันสารสนเทศจะมีการจัดเก็ยทะเบียนผู้ใช้ เพื่อจำแนกว่าผู้ใช้คนใดบ้างมีสิทธิ์ยืมทรัพยากร หรือมีสิทธิ์ใช้บริการของสถาบันบริการสารสนเทศ  ในการจัดเก็บจะเก็บข้อมูลส่วนบุคคล ดังนั้นสถาบันสารสนเทศจำเป็นต้องทราบกลุ่มเป้าหมายและลักษณะกลุ่มเป้าหมายที่จะให้บริการ

ระบบยืมคืนอัตโนมัติ

ปัจจุบันห้องสมุดได้มีการนำเอาระบบการยืมคืนอัตโนมัติเข้ามาใช้เป็นจำนวนมาก  ซึ่งได้มีการพัฒนาระบบขึ้นมาเอง สำหรับในประเทศไทยได้มีสถาบันอุมศึกษาสงขลา ได้จัดทำระบบ ALIST และบางห้องสมุดหรือสถาบันสารสนเทศได้นำระบบ INNOPAC เข้ามาดัดแปลงให้เข้ากับห้องสมุดเพื่อความเหมาะสม

ปัจจุบันได้มีโปรแกรมสำเร็จรูประบบงานยืมคืนที่นิยมใช้ ได้แก่

– ระบบ URICA ของบริษัท Universal Communication System

– ระบบ DYNIX ของบริษัท LIBNETS เป็นตัวแทน MARQIS

– ระบบ TINLIB ของบริษัท SCT Computer

– ระบบ INNOPAC

– ระบบ VTIS ของบริษัท Book Promotion

แต่ก็มีโปรแกรม Open Sources ที่เปิดให้ผู้ใช้ได้เข้าใช้โปรแกรม หรือติดตั้งได้แบบอิสระ และยังสามารถนำไปพัฒนาต่อยอดได้อีกด้วย

เทคโนโลยีที่นำมาใช้ในบริการยืม-คืน

1. เทคโนโลยีรหัสแถบ (Barcode)

            เป็นการกำหนดรหัสในรูปแบบแถบสีขาว และสีดำที่มีความแตกต่าง ด้านความกว้างแทนตัวเลขและ ตัวอักษร


ภาพที่ 2 แสดงบาร์โค้ด

ที่มา http://t2.gstatic.com/images?q=tbn:ANd9GcTvy5x0BOAAIIiW07loozffRDGZBjWqZq2Czgcf0YPPQ3F19lGS

2. คิวอาร์โค้ด(QR code,2D bacode)

เป็นเทคโนโลยีที่อยู่กึ่งกลางระหว่างรหัสบาร์โค้ด และเทคโนโลยีอาร์เอฟไอดี สำหรับใช้ในการยืม-คืนหนังสือ โดยการนำมาใช้ต้องจัดทำบาร์โค้ด 2 มิติ 2 ดวง มีลักษณะเด่นที่ไม่มีค่าใช้จ่ายในการผลิต เพราะสามารถผลิตจากกระบวนการทำรายการห้องสมุดและพิมพ์ออกมาทำการติดที่ตัวเล่มหนังสือได้ทันที

ซึ่ง QR code สามารถเก็บข้อมูลได้มากกว่า 4,000 ตัวอักษร บรรจุข้อมูลได้หลากหลายภาษา และในปัจจุบันได้นำมาประยุกต์ใช้กับการบริการห้องสมุดไว้หลายๆแห่ง เช่น บริการยืม-คืน บริการหนังสือใหม่ การจัดทำข้อมูล CIP ของหนังสือ เป็นต้น อนาคตในการกำหนดบาร์โค้ด 2 มิติ ให้กับสำนักพิมพ์ ผู้จัดพิมพ์หนังสือที่ยืนความจำนงในการขอรับเลข ISBN

ภาพที่ 3 แสดงคิวอาร์โค้ด

ที่มา http://www.2how.com/board/picture/0905/26hhp833.png

3.  เทคโนโลยี RFID (Radio Frequency Identify)

เป็นการใช้คลื่นความถี่วิทยุ เพื่อระบุอัตลักษณ์ของวัตถุหรือเจ้าของวัตถุที่ติดป้ายอาร์เอฟไอดีแทนการระบุด้วยวิธีอื่น จุดเด่นของอาร์เอฟไอดี สามารถอ่านข้อมูลจากแท็กได้หลายๆแท็กแบบไม่ต้องมีการสัมผัส ข้อดี สามารถบ่งชี้หรืออ่านข้อมูลได้ โดยวัสดุนั้นไม่ต้องอยู่ในแนวระดับที่มองเห็น ซึ่งอ่านข้อมูลผ่านสิ่งกีดขวางหรือผ่านวัตถุได้รวดเร็วและการอ่านข้อมูลจะอ่านที่อยู่ในรัศมีการอ่านได้ครั้งเดียว ในที่นี้ห้องสมุดแห่งแรกที่ติดตั้งระบบเทคโนโลยี RFID คือ ห้องสมุดของ Rockefeller University in New York ส่วนห้องสมุดประชาชนแห่งแรกที่นำเทคโนโลยี RFID มาใช้ คือ Farmington Community Library ในรัฐมิชิแกน

ภาพที่ 4 แสดง RFID (Radio Frequency Identify)

ที่มา http://webmonster.sapaan.net/images/rfid_tag_400.jpg

 
Leave a comment

Posted by on June 30, 2011 in Uncategorized

 

Tags:

สิ่งได้จากการเรียนรู้รายวิชาบริการสารสนเทศ

สิ่งได้จากการเรียนรู้รายวิชาบริการสารสนเทศ ในวันที่ 19 มิถุนายน 2554

ความสำคัญของบริการห้องสมุด

  1. เป็นองค์ประกอบที่เกื้อหนุนการพัฒนาห้องสมุด

ในงานบริการห้องสมุด บรรณารักษ์มีหน้าที่จัดเตรียม จัดหา ทรัพยากรสารสนเทศเพื่อให้ผู้ใช้ได้เข้าถึงได้สะดวก ตรงกับความต้องการ มีคุณภาพ สำหรับงานบริการถ้าผู้ใช้เปลี่ยน บรรณารักษ์ก็ต้องเปลี่ยนตามผู้ใช้ไปด้วย ซึ่งบรรณารักษ์ต้องคอยให้บริการให้ผู้ใช้ตลอดเวลา ซึ่งบรรณารักษ์ควรมีมนุษยสัมพันธ์ที่ดีต่อผู้ใช้ เพื่อสร้างภาพพจน์ที่ดีให้แก่ห้องสมุด และสร้างความนิยมชมชอบจากผู้ใช้บริการ โดยศึกษาผู้ใช้ต่อความพึงพอใจในงานบริการ เพื่อนำมาพัฒนาห้องสมุดให้ก้าวหน้าไปข้างหน้าด้วยความมั่นคงและเชื่อมั่น

2. ส่งเสริมสนับสนุนในด้านการศึกษา

ห้องสมุดเป็นแหล่งรวมองค์ความรู้และสื่อการเรียนรู้ต่างๆ  โดยห้องสมุดมี 5 ประเภท ดังนี้

  1. ห้องสมุดมหาวิทยาลัย  บทบาทของห้องสมุดมหาวิทยาลัยนี้จะส่งเสริมการศึกษาค้นคว้าหาความรู้เป็นหน่วยงานที่  ทุกมหาวิทยาลัยต้องมี
  2. ห้องสมุดโรงเรียน  มีบทบาทในการส่งเสริมการศึกษาเช่นเดียวกับห้องสมุดมหาวิทยาลัย
  3. ห้องสมุดเฉพาะ เป็นห้องสมุดที่ให้บริการสาขาวิชาบางสาขาโดยเฉพาะ เช่นห้องสมุดทางการแพทย์  ซึ่งเป็นห้องสมุดส่งเสริมการศึกษาทางการแพทย์
  4. ห้องสมุดประชาชน สำหรับคนที่ไม่ได้ศึกษาในโรงเรียนหรือมหาวิทยาลัยได้เข้าศึกษาค้นคว้าหาความรู้ติดตามข่าวสารที่ต้องการได้อย่างต่อเนื่อง ซึ่งหลักการของห้องสมุดประชาชนเพื่อพัฒนาศักยภาพคุณภาพชีวิตของประชาชน
  5. ห้องสมุดแห่งชาติ เป็นแหล่งรวบรวมความรู้ที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนาประเทศและความรู้ทุกอย่างที่ผลิตภายในประเทศ ดังนั้นจะทำให้เป็นความรู้สำหรับผู้ใช้บริการได้นำไปใช้ประโยชน์ได้

ในที่นี้ได้มีการวิเคราะห์วิธีการศึกษาห้องสมุดในสถานศึกษาในประเทศไทย ระหว่างห้องสมุดที่ครูบรรณารักษ์ที่จบทางด้านบรรณารักษ์กับห้องสมุดที่เป็นบรรณารักษ์แต่ไม่ได้จบทางด้านสาขานี้มาโดยให้นักเรียนทดสอบในการทำข้อสอบมาตรฐาน แล้วพบว่าครูบรรณารักษ์ที่จบทางด้านบรรณารักษ์ได้ส่งเสริม พัฒนานักเรียนในเรื่องความรู้ทักษะสารสนเทศมีผลความสำเร็จสูงในการผ่านข้อทดสอบมาตรฐานของประเทศ และสูงกว่านักเรียนที่มีครูบรรณารักษ์แต่  ไม่ได้จบทางด้านสาขา จึงทำให้การศึกษาของห้องสมุดโรงเรียนประสบความสำเร็จ มีประสิทธิภาพและคุณภาพใน   การเรียนการสอน

3. ในด้านเศรษฐกิจ

ช่วยให้ผู้ใช้บริการประหยัดงบประมาณในการจัดซื้อ หนังสือ วารสาร หนังสือพิมพ์ โดยที่ผู้ใช้สามารถนำเงินในส่วนที่จะเสียค่าใช้จ่ายในส่วนนี้ไปใช้จ่ายในด้านอื่นๆ เพื่อหาความรู้ และความก้าวหน้าให้แก่ตนได้อย่างเต็มที่ ซึ่งห้องสมุดจะจัดหาทรัพยากรมาให้บริการอย่างเท่าเทียมกัน โดยไม่คิดมูลค่า เช่น ห้องสมุดเคลื่อนที่ของมหาวิทยาลัยขอนแก่น ไปบริการให้ประชาชนในชุมชน เป็นต้น จึงทำให้ห้องสมุดเป็นสายตาของประชาชนที่ต้องการทรัพยากรสารสนเทศ

ในยุคเศรษฐกิจ ปี 2010 ส่งผลทำให้ประชาชนลดทานอาหารนอกบ้าน การใช้จ่ายลดลงในการซื้อหนังสือ ซีดี เพราะมีการใช้ทรัพยากรผ่านทางออนไลน์มากขึ้น แต่มีแนวโน้มที่เปลี่ยนไปคือผลการใช้ห้องสมุดมากขึ้น

4. ในทางวัฒนธรรม

สถาบันสารสนเทศหรือห้องสมุดต้องจัดเก็บ ทำนุบำรุง รักษา และส่งเสริมวัฒนธรรมชาติบ้านเมือง เป็นหน้าที่ของห้องสมุดที่จะจัดจัดการบริการที่ต้องให้สอดคล้องกับวัฒนธรรม เช่น ประเพณีลอยกระทง ห้องสมุดก็ต้องจัดนิทรรศการเกี่ยวกับประเพณีลอยกระทงเพื่อเป็นแหล่งเรียนรู้เกี่ยวกับประเพณีให้กับนักศึกษาได้  ดังนั้นห้องสมุดจึงเป็นองค์กรส่วนกลางของสังคม

5. การเมืองการปกครอง

เป็นการส่งเสริมระบอบการเมืองการปกครองของประเทศ ที่ห้องสมุดต้องจัดหาทรัพากรสารสนเทศเพื่อบริการความรู้ให้แก่ทุกระดับ ซึ่งบทบาทอาจจะไม่จำกัดเพียงแค่จัดหาทรัพยากรสารสนเทศ แต่อาจจะใช้วิธีการส่งเสริมการจัดกิจกรรม เช่น การจัดกิจกรรมรณรงค์การเลือกตั้ง,จัดกิจกรรมส่งเสริมการอ่าน เพื่อให้คนได้รับการฝึกฝนให้มีนิสัยรักการอ่าน และกิจกรรมส่งเสริมการรู้สารสนเทศ เป็นต้น

วัตถุประสงค์การบริการห้องสมุด

  1. เน้นให้ผู้ใช้รับสารของสนเทศที่ถูกต้อง สมบูรณ์ ตรงกับความต้องการผู้ใช้ให้มากที่สุด
  2. เป็นตัวกลางเชื่อมโยงระหว่างผู้ผลิตและแหล่งสารสนเทศกับผู้ต้องการใช้สารสนเทศ
  3. ส่งเสริมการถ่ายทอดสารสนเทศเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพระหว่างผู้ใช้กับแหล่งทรัพยากร
  4. กลั่นกรองสารสนเทศได้สารสนเทศที่มีคุณภาพ
  5. ตอบสนองความต้องการของผู้ใช้รายบุคคล กลุ่ม และมีบริการที่สามารถสนองตอบความต้องการ
  6. พัฒนาทักษะการใช้สารสนเทศ ความรู้ ความคิด พัฒนาการรู้สารสนเทศในการศึกษา ค้นคว้า วิจัย
  7. จัดเตรียมวัสดุอุปกรณ์เพื่ออำนวยความสะดวกในการเข้าถึงทั้งภายในและภายนอกสถาบันบริการสารสนเทศ

ทฤษฎีของการบริการห้องสมุด

ทฤษฎีของ Ranganathan

กฎเก่าแต่ก็ยังสามารถประยุกต์ใช้ได้ในเหตุการณ์ปัจจุบัน

ทฤษฎีของ นักบรรณารักษ์ Gorman

1. หนังสือมีไว้ให้ใช้ 1. ห้องสมุดมีไว้เพื่อให้บริการมนุษยชาติ เป็นการปรับให้ทันสมัน ต้องพัฒนาและเปลี่ยนแปลงตลอด
2. ผู้อ่านแต่ละคนได้หนังสือที่ตนจะอ่าน 2. ยอมรับการสื่อสารความรู้ในทุกรูปแบบ เนื่องจากมีการสื่อสารที่หลากหลายบรรณารักษ์ต้องพัฒนาและจัดหาให้ผู้ใช้
3. หนังสือทุกเล่มมีผู้อ่าน 3. ใช้เทคโนโลยีอย่างชาญฉลาดเพื่อเสริมสร้างบริการโดยให้บริการผู้ใช้ตลอด 24 ชั่วโมง ในปัจจุบันเทคโนโลยีเปลี่ยนคนก็ต้องเปลี่ยนตามไปด้วยดังนั้นผู้ใช้สามารถเข้าถึงสารสนเทศไดทุกที่ ทุกเวลา
4. ประหยัดเวลาของผู้อ่าน 4. เปิดเสรีในการเข้าถึงความรู้ กล่าวคือมีการทำCatalog เพื่อให้ผู้ใช้ได้เข้าถึงสารสนเทศตามที่ต้องการ โดยไม่กีดกั้นหรือแบ่งแยกผู้ใช้จึงทำให้เกิด Open Access คือจะไม่ต้องการให้พ่อค้าอยู่เหนืออำนาจห้องสมุดต้องเปิดให้ผู้ใช้ได้เข้าถึงสารสนเทศโดยไม่เสียค่าใช้จ่าย จะเปิดเสรีในการเข้าถึงทั้งภายในและภายนอก
5. ห้องสมุดเป็นสถาบันที่มีการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง 5. เคารพรับสิ่งที่ผ่านมาและสร้างอนาคตห้องสมุดต้องมีการพัฒนาตลอดเวลา และอนุรักษ์ ทำนุ บำรุง รักษา หนังสือเก่า นำมาปรับปรุงใหม่ให้น่าใช้

ประเภทงานบริการห้องสมุด

ที่มา ภาพที่ 1 : http://www.wallpaperez.info/children/Childrens-Day-learn-696.html

1.  บริการพื้นฐาน

1.1      บริการผู้อ่าน

1.2      บริการยืม – คืน

1.2.1   การตรวจสอบและบริการจอง

1.2.2   บริการหนังสือสำรอง

2.  บริการอ้างอิงและสารสนเทศ เป็นบริการที่เอื้ออำนวยความสะดวกให้ผู้ใช้ได้เข้าถึงสารสนเทศได้

2.1  บริการสารสนเทศ จะเป็นบริการตอบคำถาม หรือแสวงหาข้อมูลที่ผู้ใช้ต้องการ เช่น บริการยืมระหว่างห้องสมุดบริการจัดส่งเอกสาร บริการทำสำเนา บริการข่าวสารทันสมัย  บริการตอบคำถาม  บริการจัดทำดรรชนีและสาระสังเขปบริการรวบรวมบรรณานุกรม บริการการแปล บริการค้นสารสนเทศออนไลน์ บริการยืมระหว่างห้องสมุด และบริการชี้แนะแหล่งข้อมูล เป็นต้น

2.2   บริการสอนการใช้ เป็นบริการที่สอนการใช้ ทักษะการใช้เทคโนลียีสารสนเทศ เช่น บริการสอนแนะนำเฉพาะบุคคล เป็นบริการสอนแนะนำการใช้และการค้นคว้า และให้บริการเป็นกลุ่มเป็นบริการที่ทางห้องสมุดจัดบุคลากรนำชมห้องสมุด บริการสอน แนะนำการใช้เครื่องมือการค้น และบริการสอนการค้นคว้า

2.3   บริการแนะนำ เป็นบริการเสริมที่ช่วยเหลือผู้ใช้ เช่นบริการแนะนำการอ่าน บริการการอ่านบำบัด บริการปรึกษาแนะนำทำรายงาน และบริการแนะนำและช่วยการวิจัย เป็นบริการหลักที่เข้ามาในห้องสมุด เช่น มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ เป็นมหาวิทยาลัยที่เน้นทางด้านการวิจัย ดังนั้นห้องสมุดต้องมีการปรับเปลี่ยน และจัดบริการเพื่อสนองนโยบายของมหาวิทยาลัยทันที

3.   บริการเฉพาะกลุ่ม จะเน้นบริการกลุ่มเฉพาะ เช่น กลุ่มด้อยโอกาส กลุ่มเด็ก กลุ่มวัยรุ่น และกลุ่มผู้สูงอายุ เป็นต้น

อาคารห้องสมุด

การจัดพื้นที่ห้องสมุด และอาคารห้องมุดในแง่หลักการตลาด โดยห้องสมุดจะยึดความต้องการของผู้ใช้เป็นหลัก ดังนี้

  1. อาคาร

    1.1  ต้องโดดเด่น เป็นที่เชิดหน้าชูตา

    1.2  อาคารห้องสมุดจัดเป็นสถานที่ท่องเที่ยว

2. ป้าย สัญลักษณ์

ลักษณะภายในและภายนอกของอาคารต้องมีป้าย สัญลักษณ์ที่บ่งบอกที่ชัดเจน  ซึ่งภายในจะแสดงป้ายเกี่ยวกับงานบริการต่างๆ ของห้องสมุด และภายนอกบางห้องสมุดมีการจัดป้ายประชาสัมพันธ์ หรือข่าวสารของห้องสมุดเป็นที่สะดุดตาให้ผู้คนได้เกิดความน่าสนใจ

3.  คำคม

ห้องสมุดจัดให้มีคำคมติดตามขอบชั้นวางหนังสือ ภายในตัวอาคาร

ห้องสมุด The Mafia


ที่มา ภาพที่ 2 : http://writer.dek-d.com/themafialand/story/view.php?id=715049

 
Leave a comment

Posted by on June 22, 2011 in Uncategorized

 

Tags: , ,

คลังหนังสือดิจิตอล เข้ามาแล้ว!!!

ว้าวๆๆ คลังหนังสือดิจิตอลมันมาแล้ว ในที่นี้บริษัท โพลาร์ เว็บแอปพลิเคชั่น จำกัด ได้จับมือกับ บริษัท สามารถไอ-โมบาย จำกัด (มหาชน) และสำนักพิมพ์บิสซี่เดย์ เปิดตัว เว็บไซต์ http://www.ebooks.in.th และแอพพลิเคชั่นใหม่ล่าสุดเอาใจผู้ที่รักการอ่านและหนอนหนังสือออนไลน์ กับบริการ อีบุ๊ค แอพพลิเคชั่นหนังสือออนไลน์ภาษาไทยแห่งแรกของโลก โดย นายสุรัตน์ บัณทิตลักษณะ กรรมการผู้จัดการบริษัทโพลาร์ เว็บแอปพลิเคชั่น จำกัด กล่าวว่า ภาย ในปี 2554 นี้บริษัทคาดหมายว่าจะมีหนังสืออิเล็คทรอนิคส์พร้อมให้บริการอยู่ในคลังไม่ ต่ำกว่า 1 ล้านเล่ม ทั้งในรูปแบบของพอคเก็ตบุ๊ค นิตยสาร แบบเรียน วิทยานิพนธ์ รวมถึงแผ่นพับ เมนูสั่งสินค้าเดลิเวอรี่ และทุกอย่างที่เป็นสื่อสิ่งพิมพ์ โดยได้พัฒนาแอพพลิเคชั่นให้รองรับการใช้งานได้บนอุปกรณ์อิเล็คทรอนิคส์ที่พก พาสะดวก เช่น โทรศัพท์มือถือ  ไอโฟน ไอแพด ตลอดจนแท็บเล็ตที่รันบนระบบปฏิบัติการแอนดรอยด์ รวมถึงเพลย์บุ๊คจากค่ายแบล็คเบอรี่

ซึ่งที่ผ่านมาแอพพลิเคชั่น อีบุ๊ค ก็ได้รับกระแสตอบรับเป็นอย่างดีจากผู้ใช้ ด้วยยอดดาวน์โหลดกว่า 50,000 ดาวน์โหลด นับตั้งแต่เปิดตัวเมื่อเดือนกุมภาพันธ์ ส่วนในเรื่องของการจำหน่ายหนังสือดิจิตอลผ่านทางระบบออนไลน์ก็จะมีราคา ถูกกว่าหนังสือปกเดียวกันที่วางอยู่บนแผงทั่วไป เนื่องจากสำนักพิมพ์ไม่มีต้นทุนในค่าจัดพิมพ์ ซึ่งเป็นค่าใช้จ่ายที่สูง

จากที่มีข่าวการเปิดตัวคลังหนังสือหนังสือดิจิตอล สำหรับเราคิดว่าเทคโนโลยีมีส่วนช่วยทำให้เราได้เข้าถึงความรู้ ได้ทุกที่ ทุกเวลา จริงๆ แต่คนที่จะเข้าถึงความรู้ได้นั้นต้องมีต้นทุนทางการเงินที่ดีด้วยถึงจะเข้าถึงความรู้นั้นได้

อ้างอิง :

        Pantip.  (2011).  บริษัทโพลาร์ แถลงข่าวเปิดตัว เว็บไซต์และแอพฯ อีบุ๊ค คลังหนังสือดิจิตอลแห่งแรกของไทย จาก http://www.pantip.com/tech/techblog/article.php?articleID=SA3006975

 
Leave a comment

Posted by on June 15, 2011 in Uncategorized

 

Tags: , ,

เล่าสู่กันฟัง Web 3.0

ในปัจจุบันเทคโนโลยีได้พัฒนา เปลี่ยนแปลงด้วยความรวดเร็วเป็นอย่างมาก ซึ่งเราทุกคนก็ต้องติดตามความเปลี่ยนแปลง และต้องปรับตัวไปพร้อมๆกับเทคโนโลยีอีกด้วย ในที่นี้เราก็ใกล้ที่จะก้าวเข้าสู่ อินเตอร์เน็ตยุคที่ 3 กันแล้ว หรือที่เราเรียกกันว่าWeb 3.0 เชื่อว่าหลายๆ คนคงยังไม่รู้ว่า Web 3.0 มันคืออะไรกัน และเราผ่าน Web 1.0 และWeb 2.0 มาเมื่อไหร่ แล้วมันใช่เทคโนโลยีหรือไม่ ก่อนอื่นเรามารู้จัก Web 3.0 มันก็คือ เป็นการพัฒนาต่อจาก Web 2.0 โดยสามารถจัดการข้อมูลจำนวนมากๆ ได้ดียิ่งขึ้น ซึ่งทุกวันนี้ผู้ใช้ทั่วไปที่เป็นผู้สร้างเนื้อหา ได้เพิ่มจำนวนมากขึ้น เช่น การเขียน Blog, การแชร์รูปภาพและไฟล์มัลติมีเดียต่างๆ ทำให้ข้อมูลมีจำนวนมหาศาล ด้วยเหตุนี้จึงจำเป็นต้องมีความสามารถในการข้อมูลดังกล่าวอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ โดยเอาข้อมูลเหล่านั้นมาจัดการให้อยู่ในรูปแบบ Metadata หรือ ข้อมูลที่บอกรายละเอียดของข้อมูล (Data about data) ทำให้เว็บกลายเป็น Semantic Web หรือเว็บที่ใช้ Metadata มาอธิบายสิ่งต่างๆ บนเว็บ ซึ่งจะเห็นกันทั่วไปในรูป Tag นั่นเอง  เราลองมาดูหลักการความแตกต่างระหว่าง Web 1.0,Web 2.0 และ Web 3.0 กัน ดังนี้

Web 1.0 = Read Only, static data with simple markup
Web 2.0 = Read/Write, dynamic data through web services
Web 3.0 = Read/Write/Relate, data with structured metadata + managed identity

Web 3.0 มันมีอะไรบ้าง

  1. Artificial Intelligence หรือ AI หลายๆ คนคงจะรู้จักกันดีอยู่แล้ว มันเป็นระบบสมองกล จะสามารถคาดเดาผู้ใช้งานได้ว่ากำลังค้นหา หรือคิดอะไรอยุ่
  2. Semantic Web เป็นระบบที่มีการเชื่อมโยงข้อมูลต่างๆ พยายามทำให้ภาษาทั้งหลายคุยกันได้เองหรือเข้าใจกันได้ ทั้งที่อยู่ในเว็บของผู้พัฒนาและแหล่งข้อมูลอื่นๆ ให้มีความสัมพันธ์กัน ซึ่งมันจะไม่สรุปให้ว่าข้อมูลไหนดีที่สุด แต่จะเอาสิ่งที่เกี่ยวข้องทั้งหมดมาเทลงตรงหน้า จะทำให้ระบบฐานข้อมูลมีขนาดใหญ่มากๆ หรืออาจทำให้เกิดฐานข้อมูลโลก
  3. Composite Applications เป็นการผสมผสาน Application หรือโปรแกรม หรือบริการต่างๆ ของเว็บ ที่มาจากแหล่งต่างๆ เข้าไว้ด้วยกัน เพื่อประโยชน์ของผู้ใช้งานนั้นเอง
  4. Semantic Wiki  เป็นการอธิบายคำๆ หนึ่ง คล้ายกับดิกชันนารีนั้นเองครับ ดังนั้นถ้า Web 3.0 เป็น Wiki ด้วยแล้วนั้น จะทำให้เราสามารถหา ความหมาย หรือข้อมูลต่างๆ ได้ละเอียด และแม่นยำมากขึ้น
  5. Ontology Language หรือ OWL เป็นภาษาที่ใช้ในการอธิบายสิ่งต่างๆ ให้มีความสัมพันธ์กัน โดยดูจากความหมายของสิ่งนั้นๆ ซึ่งก็จะเชื่อมโยงกับระบบ Metadata นั้นเอง

ที่มา : techcrunch.com และ computers.co.th

 
Leave a comment

Posted by on June 13, 2011 in Uncategorized

 

Tags: ,